Smile Cycling

ฝันเล็กๆ ในการเดินทางท่องเที่ยวด้วยจักรยาน

Fuji-X30 : การเชื่อมต่อไร้สาย

ไม่มีความคิดเห็น


     เมื่อต้องการสื่อสารระหว่าง กล้อง-สมาร์ทโฟน หรือ กล้อง-คอมพิวเตอร์ส่วนตัว ผ่านระบบ Wi-Fi เพื่อควบคุมหรือ คัดลอกภาพจากกล้องถ่ายรูป X30 ... เราสามารถโหลดรูปภาพจากกล้องโดยใช้ตัวเลือก ในเมนู Play ของกล้อง หรือโดยการกดปุ่ม Wi-Fi ในโหมด Preview ซึ่งต้องสื่อสารผ่าน Application

     ในขณะแสดงภาพ (Preview) การกดปุ่ม Wi-Fi มี 2 ลักษณะ
         (1) กดปล่อย ... เป็นการติดต่อกับ SmartPhone
         (2) กดค้าง ... เป็นการติดต่อกับ Pc Autosave

รูปแบบการติดต่อ พอสรุปได้มี 3 แบบ

  • FUJIFILM Camera Remote ใช้ผ่านสมาร์ทโฟน/แทบเล็ต
  • FUJIFILM Photo Receiver สำหรับแชร์ผ่าน สมาร์ทโฟน/แทบเล็ต ของเพื่อนๆ
  • FUJIFILM PC AutoSave สำหรับโหลดภาพ/วีดีโอ ทั้งหมดไปยัง Pc. หรือ Notebook


FUJIFILM Camera Remote



FUJIFILM Photo Receiver



FUJIFILM PC AutoSave 

     เป็นการเชื่อมต่อเพื่อการส่งผ่านไฟล์ภาพ/วีดีโอ จากกล้อง X30 มายัง Pc อัตโนมัติหลังจากเชื่อมต่อสำเร็จ สังเกตคำว่า "Auto Save" หมายถึงดาวน์โหลดทุกไฟล์ที่เกิดขึ้นใหม่ในกล้อง เราไม่สามารถเลือกไฟล์ได้ และระบบจะส่งไฟล์ภาพมาตามขนาดเต็ม ซึ่งต่างจากการส่งเข้าสมาร์ทโฟน ที่สามารถกำหนดได้ว่าจะเอาแบบขนาดเต็ม หรือขนาด 3 M (2048*1536)

     ข้อเสีย 

  • การรับ-ส่งไฟล์ ช้ามากๆ
  • ขั้นตอนการ Connect ค่อนข้างจะยุ่งยาก เมื่อเทียบกับต่อสาย USB จะง่ายกว่าหลายเท่าตัว
  • เปลืองแบตฯ ของกล้อง   

  ขั้นตอนการติดตั้ง (ครั้งแรก)

เลือก Manual Setting 

  • 2.1 เปิดโปรแกรม Pc Auto Save Setting แล้วเลือก Manual Setting (ถ้าเลือก Simple Setting (via WPS) ตามเว็บไซด์จะ connect ยุ่งยากกว่า)

หน้าจอรอการ Connect จากกล้อง Fuji-x30


  • 2.2 มาทำที่กล้อง Fuji-x30 ... เปิดกล้อง x30 เลือกเมนู Setup >  Pc Auto Save Setting ... ต่อด้วย Manual setup ...

ภาพจาก http://app.fujifilm-dsc.com/en/pc_autosave/appendix.html#a02
     ในขั้นตอนนี้เป็นการตั้งค่าที่กล้อง X30 ให้รู้จัก Network Wi-Fi ... จะยุ่งยากนิดหนึ่ง ซึ่งก็ไม่ยากเกินก็คล้ายกับการ Connect Wi-Fi ของสมาร์ทโฟนทั่วๆ ไป คือระบุ SSID, Password ให้ถูกต้อง


  • 2.3 หลังการ Connect ... จะเป็นดังในภาพ
ภาพที่ PC เมื่อ Connect เรียบร้อยแล้ว ... กด Ok ได้เลย
ภาพที่ X30 เมื่อ Connect เรียบร้อยแล้ว ปล่อยให้ค้างไว้ ...
กด Ok เพื่อจบการติดต่อ
ภาพจาก http://app.fujifilm-dsc.com/en/pc_autosave/appendix.html#a02

     จบการติดตั้งทั้ง 2 ด้านเรียบร้อย พร้อมที่จะส่งผ่าน ภาพ/วีดีโอ มายัง Pc อ้างอิง ... http://app.fujifilm-dsc.com/en/pc_autosave/usage.html



ขณะทำการเชื่มต่อและรับ/ส่ง ไฟล์ภาพ
เมื่อการรับ/ส่งเสร็จสมบูรณ์
จะตัดการติดต่อออกไปเองอัตโนมัติ

    จากภาพตัวอย่างข้างบน เรามาเริ่ม รับ-ส่งไฟล์ กันดีกว่า ...  ตามลำดับในภาพเลยครับ

(1) กดปุ่ม Wi-Fi ที่กล้อง X30 ค้าง ... เป็นการติดต่อกับ Pc Autosave
(กดธรรมดา เป็นการติดต่อกับ SmartPhone) 

(2) หน้าจอจะแสดงรายชื่อ PC ที่ติดต่อด้วย ให้กดปุ่ม OK

กล้องทำการเชื่อมต่อ Wi-Fi (รอ)

Connect ได้แล้ว กำลังค้นหาเครื่อง PC ในเน็ทเวิร์ก

(3) หาเจอแล้ว ... ให้เรากดปุ่ม OK
(ถ้าหาไม่เจอ ให้เริ่มจาก (1) ใหม่)

กำลังสำราจว่าไม่ไฟล์ใหม่ที่ต้องโหลดไปยัง PC (รอ)
ขณะทำการ รับ-ส่งไฟล์
ให้รอจนเสร็จ ระบบจะตัดการติดต่ออกไปเอง

ไม่มีความคิดเห็น :

Fuji-X30 : เริ่มต้นใหม่กับกล้องพรีเมี่ยมคอมแพค

ไม่มีความคิดเห็น


     ฤกษ์งามยามดีหลังจากที่มองๆ อยู่หลายวัน วานนี้ (19/10/2557) ได้มีโอกาสไปเดินเตร่ๆ จึงสอยมาเลยในงบ 19,990.- แถมเมม ๘ กิ๊ก, ติดกันรอย, เคสสีดำ... 0% 6 เดือน และ รีโมทลั่นชัตเตอร์ ที่จ่ายเพิ่ม ๓๙๙.-

    ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

ทดสอบการสั่งงานผ่าน App
     บทความนี้ไม่ใช้การรีวิวความโดดเด่นของกล้องตัวนี้ เป็นเพียงบันทึกการใช้งาน เริ่มยังไง ตั้งค่ายังไง โดยอาศัยคู่มือการใช้งานข้างต้น ทั้งนี้ควรทำความเข้าใจตามลำดับจากบนลงล่าง

สารบัญ

เกี่ยวกับคู่มือฉบับนี้

ส่วนต่างๆ ของกล้อง

จอแสดงผลของกล้อง

ขั้นแรก

การถ่ายรูปพื้นฐานและการเล่น

การบันทึกภาพยนตร์เบื้องต้นและการเล่น

โหมดถ่ายภาพ

ปุ่ม Q (เมนูด่วน)

ปุ่ม Fn (ฟังก์ชั่น)

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายรูป

เมนูถ่ายรูป

เมนูเล่น

เมนูตั้งค่า

การเชื่อมต่อ

อุปกรณ์เสริม

เพื่อความปลอดภัยของคุณ

ภาคผนวก

     ต่อไปนี้จะเป็นเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ สำหรับการเริ่มต้นของคนที่ยังไม่ทราบมาก่อน เช่น คำที่แปลมาจากคู่มือ ที่อ่านแล้วงง

ปุ่มควบคุม
    • Control Ring = วงแหวนควบคุม (อยู่ด้านหน้าหลังวงแหวน Zoom)
    • Command Dial = แป้นหมุนเลือกคำสั่ง (อยู่ด้านหลัง บนปุ่ม AE/AF-L)
    • Selector/Function Button= แป้นตัวเลือก  (อยู่ด้านหลัง ใต้ปุ่ม Q)

การดูวีดีโอ จากที่บันทึกไว้
    • กดปุ่ม Play เลือกวีดีโอแล้ว กดปุ่ม "AF"
    • เพิ่ม/ลดเสียง กดปุ่ม "ok" แล้วเลือก ขึ้น/ลง (Macro/Af)

การเปลี่ยนค่าในเมนูด่วน "Q"
    • กดปุ่ม Q แล้วเลือกเมนูต่างๆ ด้วยปุ่ม Selector
    • เปลี่ยนค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ด้วยปุ่ม Dial

การเปลี่ยนค่าปุ่ม Control ring options button


ปุ่มนี้มีหน้าที่ 5 อย่าง 
  • DEFAULT
  • ISO
  • WHITE BALANCE
  • FILM SIMULATION
  • CONTINUOUS

การใช้งาน
  • เมื่ออยู่ที่ค่า Default จะใช้แทนปุ่ม Command Dial เพื่อปรับตั้งค่า Speed Shutter ในโหมด S, และ Aperture ในโหมด A และสลับ Speed Shutter / Aperture ในโหมด M  และหน้าที่ต่างๆ ตามโหมดการถ่ายภาพ ดังรูปข้างล่าง
  • ใช้ปุ่มปรับโฟกัส เมื่อเลือกใช้การปรับโฟกัสแบบ Manual
  • การเปลี่ยนจากค่า Default ไปเป็นค่าอื่นๆ ได้ด้วยการเลือกจากปุ่ม Command Dial และยืนยันด้วยปุ่ม ok
  • การปิดและเปิดเครื่องใหม่ ระบบจะจำค่าครั้งสุดท้าย

หน้าที่ต่างๆ ตามโหมดการถ่ายภาพ

ไม่มีความคิดเห็น :

ความรู้พื้นฐานในการสร้างการสร้าง "วีดีโอ / หนังสั้น"

1 ความคิดเห็น

การสร้างวีดีโอ

     การสร้างคลิปวีดีโอนั้น แม้ว่าเรามาภาพต้นฉบับดีๆ วีดีโอสวยๆ มีเสียงเพลงเพราะๆ มีคอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่ดี ก็ใช่ว่าเราจะสร้างงานออกมาแล้วจะดีไปด้วย ความน่าสนใจของคลิปวีดีโอ ต้องอาศัยจินตนาการ, ความคิดสร้างสรรค์ ในทุกๆ ขั้นตอนของกระบวนการ"ผลิต" โดยหลักการทางทฤษฎีแล้วประกอบด้วย 3 ขั้นตอน หรือ 3 P

- Pre-Production คือ การเตรียมการก่อนการผลิต
- Production คือ การดำเนินการถ่ายทำ
- Post-Production คือ การตัดต่อและการนำเสนอ



ดังนั้น การจะสร้างงานออกมาให้ดีและเป็นที่น่าสนใจ เราจำเป็นต้องเตรียมการในเรื่องเหล่านี้
- Concept & Theme
- Script & Story Board

Concept & Theme
     เป็นการกำหนดแนวคิดและทิศทางของคลิปวีดีโอเรา รวมถึงรูปแบบในการนำเสนอ เช่น คลิป"ส่งเสริมการปั่นจักรยานเพื่อการท่องเที่ยว" มี Concept คือ ต้องนำเสนอความสนุกสนานในการปั่นจักรยานไปท่องเที่ยวสถานที่ต่างๆ ดังนั้น Theme ของเรื่องนี้ก็คือ สถานที่และเส้นทาง ที่สวยงาม ... ซึ่งจะส่งผลต่อ Script และ Storyboard จะต้องดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน

Script
     สคริปต์ หรือ บท คือรายละเอียดของตัวละคร, ฉาก, มุมกล้อง, การตัดต่อ, ตัวหนังสือ, เสียงประกอบ ... ฯลฯ ทุกอย่างต้องระบุในสคริปต์ทั้งหมด เพื่อให้ได้ผลลัพท์ตามที่ต้องการ

Story board
    ตามหลักการของการสร้างภาพยนตร์ เป็นภาพวาดแบบร่าง ที่สร้างขึ้นจากสคริปต์ หากระบุรายละเอียดได้มาก การทำงานจะสะดวกมากขึ้น
     ในทางอุตสาหกรรมภาพยนตร์ จะสร้างเป็นภาพเคลื่อนไหวแบบ 3D-Animation บันทึกเสียงประกอบแบบภาพยนตร์จริงๆ
     ... แต่สำหรับระดับเราๆ สร้างคลิปวีดีโออัพขึ้น Youtube คงไม่ต้องถึงขนาดนั้น

     เอาแบบง่ายๆ ก็คือภาพ sketch ใน shot ต่างๆ พร้อมคำบรรยาย หรือ บทสนทนา เป็นการช่วบลำดับเหตุการณ์

ตารางสำหรับบันทึก story board

ส่วนประกอบของ Story Board
  • ตัวละคร / ฉาก / เรื่องราว
  • มุมกล้อง
  • เสียง / คำบรรยาย
  • เวลา

ตัวอย่าง Story Board

ประโยชน์ของ Story Board
  • ช่วยควบคุมเรื่องราวให้อยู่ใน Concept ที่วางไว้
  • ลำดับเหตุการณ์ก่อน-หลัง
  • ทราบเวลาที่ใช้คร่าาวๆ

ดังนั้นพอสรุปขั้นตอนคร่าวๆ ได้ดังนี้
  1. กำหนด Theme
  2. เขียนเรื่องย่อ
  3. กำหนดตัวละคร / ฉาก
  4. เขียนบท
  5. เขียน Story Board 
  6. ถ่ายทำ -> ภาพนิ่ง/วีดีโอ
  7. ตัดต่อ -> Sony vegas
  8. นำเสนอผลงาน --> Youtube


เทคนิคการทำหนังสั้น

~รู้จักหนังสั้น~
        หนังสั้น คือ หนังยาวที่สั้น ก็คือการเล่าเรื่องด้วยภาพและเสียงที่มีประเด็นเดียวสั้น ๆ แต่ได้ใจความ ศิลปะการเล่าเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นนิทาน นิยาย ละคร หรือภาพยนตร์ ล้วนแล้วแต่มีรากฐานแบบเดียวกัน นั่นคือ การเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นของมนุษย์หรือสัตว์ หรือแม้แต่อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นช่วงเวลาหนึ่งเวลาใด ณ สถานที่ใดที่หนึ่งเสมอ ฉะนั้น องค์ประกอบที่สำคัญที่ขาดไม่ได้คือ ตัวละคร สถานที่ และเวลา
        สิ่งที่สำคัญในการเขียนบทหนังสั้นก็คือ การเริ่มค้นหาวัตถุดิบหรือแรงบันดาลใจให้ได้ ว่าเราอยากจะพูด จะนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับอะไร ตัวเราเองมีแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ อย่างไร ซึ่งแรงบันดาลใจในการเขียนบทที่เราสามารถนำมาใช้ได้ก็คือ ตัวละคร แนวความคิด และเหตุการณ์ และควรจะมองหาวัตถุดิบในการสร้างเรื่องให้แคบอยู่ในสิ่งที่เรารู้สึก รู้จริง เพราะคนทำหนังสั้นส่วนใหญ่ มักจะทำเรื่องที่ไกลตัวหรือไม่ก็ไกลเกินไปจนทำให้เราไม่สามารถจำกัดขอบเขตได้
        เมื่อเราได้เรื่องที่จะเขียนแล้วเราก็ต้องนำเรื่องราวที่ได้มาเขียน Plot (โครงเรื่อง) ว่าใคร ทำอะไร กับใคร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร เพราะอะไร และได้ผลลัพธ์อย่างไร ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ข้อมูล หรือวัตถุดิบที่เรามีอยู่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ชีวิตของแต่ละคนว่ามีแนวคิดมุมมองต่อชีวิตคนอย่างไร เพราะความเข้าใจในมนุษย์ ยิ่งเราเข้าใจมากเท่าไร เราก็ยิ่งทำหนังได้ลึกมากขึ้นเท่านั้น
        และเมื่อเราได้เรื่อง ได้โครงเรื่องมาเรียบร้อยแล้ว เราก็นำมาเป็นรายละเอียดของฉาก ว่ามีกี่ฉากในแต่ละฉากมีรายละเอียดอะไรบ้าง เช่นมีใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ไปเรื่อย ๆ จนจบเรื่อง ซึ่งความจริงแล้วขั้นตอนการเขียนบทไม่ได้มีอะไรยุ่งยากมากมาย เพราะมีการกำหนดเป็นแบบแผนไว้อยู่แล้ว แต่สิ่งที่ยาก มาก ๆ ก็คือกระบวนการคิด ว่าคิดอย่างไรให้ลึกซึ้ง คิดอย่างไรให้สมเหตุสมผล ซึ่งวิธีคิดเหล่านี้ไม่มีใครสอนกันได้ทุกคน ต้องค้นหาวิธีลองผิดลองถูก จนกระทั่ง ค้นพบวิธีคิดของตัวเอง
        การเตรียมการและการเขียนบทภาพยนตร์
        การเขียนบทภาพยนตร์เริ่มต้นที่ไหน เป็นคำถามที่มักจะได้ยินเสมอสำหรับผู้ที่เริ่มหัดเขียนบทภาพยนตร์ใหม่ ๆ เช่น ควรเริ่มช็อตแรก เห็นยานอวกาศลำใหญ่แล่นเข้ามาขอบเฟรมบนแล้วเลยไปสู่แกแล็กซี่เบื้องหน้าเพื่อให้เห็นความยิ่งใหญ่ของจักรวาล หรือเริ่มต้นด้วยรถที่ขับไล่ล่ากันกลางเมืองเพื่อสร้างความตื่นเต้นดี หรือเริ่มต้นด้วยความเงียบมีเสียงหัวใจเต้นตึกตัก ๆ ดี หรือเริ่มต้นด้วยความฝันหรือเริ่มต้นที่ตัวละครหรือเหตุการณ์ดี เหล่านี้เป็นต้น บางคนบอกว่ามีโครงเรื่องดี ๆ แต่ไม่ทราบว่าจะเริ่มอย่างไร
        
        การเริ่มต้นเขียนบทภาพยนตร์ เราต้องมีเป้าหมายหลักหรือเนื้อหาเป็นจุดเริ่มต้นการเขียน เราเรียกว่าประเด็น (Subject) ของเรื่อง ที่ต้องชัดเจนแน่นอน มีตัวละครและแอ็คชั่น ดังนั้น นักเขียนควรเริ่มต้นจากจุดนี้พร้อมด้วยโครงสร้าง (Structure) ของบทภาพยนตร์
        ประเด็นอาจเป็นสิ่งที่ง่าย ๆ เช่น มนุษย์ต่างดาวเข้ามาเยือนโลกแล้วพลัดพลาดจากยานอวกาศของตน ไม่สามารถกลับดวงดาวของตัวเองได้ จนกระทั่งมีเด็ก ๆ ไปพบเข้าจึงกลายเป็นเพื่อนรักกัน และช่วยพาหลบหนีจากอันตรายกลับไปยังยานของตนได้ นี่คือเรื่อง E.T. – The Extra-Terrestrial (1982) หรือประเด็นเป็นเรื่องของนักมวยแชมป์โลกรุ่นเฮฟวี่เวทที่สูญเสียตำแหน่งและต้องการเอากลับคืนมา คือเรื่อง Rocky III หรือนักโบราณคดีค้นพบโบราณวัตถุสำคัญที่หายไปหลายศตวรรษ คือเรื่อง Raider of the Lost Ark (1981) เป็นต้น
        การคิดประเด็นของเรื่องในบทภาพยนตร์ของเราว่าคืออะไร ให้กรองแนวความคิดจนเหลือจุดที่สำคัญมุ่งไปที่ตัวละครและแอ็คชั่น แล้วเขียนให้ได้สัก 2-3 ประโยค ไม่ควรมากกว่านี้ และที่สำคัญไม่ควรกังวลในจุดนี้ว่าจะต้องทำให้บทภาพยนตร์ของเราถูกต้องในแง่ของเรื่องราว แต่ควรให้มันพัฒนาไปตามแนวทางของขั้นตอนการเขียนจะดีกว่า
สิ่งแรกที่เราควรฝึกเขียนคือต้องบอกให้ได้ว่าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร เช่น เรื่องเกี่ยวกับความดีและความชั่วร้าย หรือเกี่ยวกับความรักของหนุ่มชาวกรุงกับหญิงบ้านนอก ความพยาบาทของปีศาจสาวที่ถูกฆาตกรรม ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ความคิดที่ยังขาดแง่มุมของการเขียนว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป จึงต้องชัดเจนมากกว่านี้ โดยเริ่มที่ตัวละครหลักและแอ็คชั่น ดังนั้นประเด็นของเรื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญของจุดเริ่มต้นการเขียนบทภาพยนตร์
        อย่างไรก็ตาม การเขียนบทภาพยนตร์สำหรับนักเขียนหน้าใหม่ ควรค้นหาสิ่งที่น่าสนใจจากสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวของนักเขียนเอง เขียงเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองรู้ ทำให้ได้รายละเอียดในเชิงลึกของเนื้อหา เกิดความจริง สร้างความตื่นตะลึงได้ เช่นเรื่องในครอบครัว เรื่องของเพื่อนบ้าน เรื่องในที่ทำงาน ของตนเอง เรื่องในหนังสือพิมพ์รายวัน เป็นต้น
        ดังนั้นขั้นตอนสำหรับการเขียนบทภาพยนตร์สามารถสรุปได้คือ
        1. การค้นคว้าหาข้อมูล (research)         เป็นขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์อันดับแรกที่ต้องทำถือเป็นสิ่งสำคัญหลังจากเราพบประเด็นของเรื่องแล้ว จึงลงมือค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเสริมรายละเอียดเรื่องราวที่ถูกต้อง จริง ชัดเจน และมีมิติมากขึ้น  คุณภาพของภาพยนตร์จะดีหรือไม่จึงอยู่ที่การค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าภาพยนตร์นั้นจะมีเนื้อหาใดก็ตาม
        2. การกำหนดประโยคหลักสำคัญ (premise)         หมายถึงความคิดหรือแนวความคิดที่ง่าย ๆ ธรรมดา ส่วนใหญ่มักใช้ตั้งคำถามว่า “เกิดอะไรขึ้นถ้า...” (what if) ตัวอย่างของ premise ตามรูปแบบหนังฮอลลีวู้ด เช่น เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ & จูเลียตเกิดขึ้นในนิวยอร์ค คือ เรื่อง West Side Story, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ดาวอังคารบุกโลก คือเรื่อง The Invasion of Mars, เกิดอะไรขึ้นถ้าก็อตซิล่าบุกนิวยอร์ค คือเรื่อง Godzilla, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ต่างดาวบุกโลก คือเรื่อง The Independence Day, เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ & จูเลียตเกิดขึ้นบนเรือไททานิค คือเรื่อง Titanic เป็นต้น
        3. การเขียนเรื่องย่อ (synopsis)         คือเรื่องย่อขนาดสั้น ที่สามารถจบลงได้ 3-4 บรรทัด หรือหนึ่งย่อหน้า หรืออาจเขียนเป็น story outline เป็นร่างหลังจากที่เราค้นคว้าหาข้อมูลแล้วก่อนเขียนเป็นโครงเรื่องขยาย (treatment)
        4. การเขียนโครงเรื่องขยาย (treatment)         เป็นการเขียนคำอธิบายของโครงเรื่อง (plot) ในรูปแบบของเรื่องสั้น โครงเรื่องขยายอาจใช้สำหรับเป็นแนวทางในการเขียนบทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ บางครั้งอาจใช้สำหรับยื่นของบประมาณได้ด้วย และการเขียนโครงเรื่องขยายที่ดีต้องมีประโยคหลักสำหคัญ (premise)  ที่ง่าย ๆ น่าสนใจ
        5. บทภาพยนตร์ (screenplay)         สำหรับภาพยนตร์บันเทิง หมายถึง บท (script) ซีเควนส์หลัก (master scene/sequence)หรือ ซีนาริโอ (scenario) คือ บทภาพยนตร์ที่มีโครงเรื่อง บทพูด แต่มีความสมบูรณ์น้อยกว่าบทถ่ายทำ (shooting script) เป็นการเล่าเรื่องที่ได้พัฒนามาแล้วอย่างมีขั้นตอน ประกอบ ด้วยตัวละครหลักบทพูด ฉาก แอ็คชั่น ซีเควนส์ มีรูปแบบการเขียนที่ถูกต้อง เช่น บทสนทนาอยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษฉาก เวลา สถานที่ อยู่ชิดขอบหน้าซ้ายกระดาษ ไม่มีตัวเลขกำกับช็อต และโดยหลักทั่วไปบทภาพยนตร์หนึ่งหน้ามีความยาวหนึ่งนาที
        6. บทถ่ายทำ (shooting script)         คือบทภาพยนตร์ที่เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียน บทถ่ายทำจะบอกรายละเอียดเพิ่มเติมจากบทภาพยนตร์ (screenplay) ได้แก่ ตำแหน่งกล้อง การเชื่อมช็อต เช่น คัท (cut) การเลือนภาพ (fade) การละลายภาพ หรือการจางซ้อนภาพ (dissolve) การกวาดภาพ (wipe) ตลอดจนการใช้ภาพพิเศษ (effect) อื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเลขลำดับช็อตกำกับเรียงตามลำดับตั้งแต่ช็อตแรกจนกระทั่งจบเรื่อง
        7. บทภาพ (storyboard)         คือ บทภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่อธิบายด้วยภาพ คล้ายหนังสือการ์ตูน ให้เห็นความต่อเนื่องของช็อตตลอดทั้งซีเควนส์หรือทั้งเรื่องมีคำอธิบายภาพประกอบ เสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงประกอบฉาก และเสียงพูด เป็นต้น ใช้เป็นแนวทางสำหรับการถ่ายทำ หรือใช้เป็นวิธีการคาดคะเนภาพล่วงหน้า (pre-visualizing) ก่อนการถ่ายทำว่า เมื่อถ่ายทำสำเร็จแล้ว หนังจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งบริษัทของ Walt Disney นำมาใช้กับการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนของบริษัทเป็นครั้งแรก โดยเขียนภาพ      เหตุการณ์ของแอ็คชั่นเรียงติดต่อกันบนบอร์ด เพื่อให้คนดูเข้าใจและมองเห็นเรื่องราวล่วงหน้าได้ก่อนลงมือเขียนภาพ ส่วนใหญ่บทภาพจะมีเลขที่ลำดับช็อตกำกับไว้ คำบรรยายเหตุการณ์ มุมกล้อง และอาจมีเสียงประกอบด้วย
        การเขียนบทภาพยนตร์จากเรื่องสั้น         
        การเขียนบทอาจเป็นเรื่องที่นำมาจากเรื่องจริง เรื่องดัดแปลง ข่าว เรื่องที่อยู่รอบ ๆ ตัว นวนิยาย   เรื่องสั้น หรือได้แรงบันดาลใจจากความประทับใจในเรื่องราวหรือบางสิ่งที่คนเขียนบทได้สัมผัส เช่น ดนตรี บทเพลง บทกวี ภาพเขียน และอื่น ๆ ซึ่งบทภาพยนตร์ต่อไปนี้ได้แปลมาจากเรื่องสั้นในนิตยสาร The Mississippi Review โดย Robert Olen Butler เรื่อง Salem แต่ในที่นี้จะไม่กล่าวถึงมาตรฐานรูปแบบการเขียนบทภาพยนตร์ว่ามีการเขียนและการจัดหน้าอย่างไร ขอให้ศึกษาได้ใบทภาพยนตร์โดยทั่วไป
  • ขอบคุณข้อมูลจาก ... https://sites.google.com/site/khtpshortfilm/thekhnikh-kar-tha-hnang-san

1 ความคิดเห็น :

Sony Vegas Pro : พื้นฐานในการตัดต่อวีดีโอและการตั้งค่า Project & Render

2 ความคิดเห็น


     หลังจากที่เราได้ทำการติดตั้งโปรแกรม Sony Vegas Pro 13.0 เรียบร้อยไปแล้ว นั่นคือเรามีเครื่องมือที่จะใช้แล้วละ ทีนี้จะใช้อย่างไร เริ่มตรงไหน? ... คงเป็นคำถามที่จะตามมาเยอะแยะเลย Workflow ที่เขาพูดๆ กัน จะเป็นอย่างไร ใจเย็นๆ ติดตามบทความไปเรื่อยๆ พร้อมลงมือทำ จะไม่เป็นเรื่องยากเลย

Workflow การตัดต่อวีดีโอง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน
  • การตั้งค่า Project ให้เหมาะสมกับไฟล์วีดีโอของเรา 
  • การนำเข้า media ต่างๆ เช่น วีดีโอ ภาพนิ่ง เสียงเพลง, จัดเรียงลำดับงานของเราบน Timeline ตามที่เราต้องการ, การตกแต่ง ลูกเล่นโดยใช้ Effect หรือ Transition หรือ การใส่ตัวอักษร/ข้อความ, เสียงพากษ์หรือบรรยาย เพิ่มเติม 
  • การส่งออก (Render) หลังจากตกแต่งเสร็จหมดทุกอย่างแล้ว เราก็จะทำการส่งออกไฟล์ ไปใช้งาน
     หลักๆ ก็เหมือนมี Input - Process - Output ... งานหลักในที่นี้คือกระบวนการ Process นอกจากจะต้องทำความเข้าใจกับเครื่องมือที่ต้องใช้งาน และต้องใส่ความคิด+จินตนาการ ของเราลงไป

     การตั้งค่า Project เราทำความเข้าใจเพียงครั้งเดียว ก็จะใช้หลักการได้ตลอดไป ... ใช้แนวคิดขบวนการที่ย้อนกลับ Output > Process > Input

     การตั้งค่า Render เราต้องรู้จุดประสงค์ก่อนว่าจะเอาไฟล์ที่ตัดต่อเสร็จแล้วไปทำอะไร เพราะการนำไฟล์ไปใช้งานแต่ละประเภทจะไม่เหมือนกัน

การตั้งค่า Project Properties
     เป็นการเริ่มต้นใหม่ด้วยคำสั่ง New ของทุกๆ โปรแกรม อย่างเช่นโปรแกรม MS-word ต้องกำหนดกั้นหน้า-กั้นหลัง, ระยะขอบ ... เหล่านี้เป็นต้น ในโปรแกรม Sony Vegas Pro ก็เช่นเดียวกัน
Project Property ง่ายๆ ให้ตั้งต่า frame rate ตาม video ที่ถ่ายมา ถ้าไม่รู้ให้ใช้เครื่องมือ "Match Media Video setting ... และตั้งค่า resolution ตามขนาดที่จะนำไปใช้" 
     ข้อความบนนี้เป็นคำกล่าวของผู้มีประสบการณ์ ซึ่งส่วนมาแล้วพวกเขาจะ"ถ่ายวีดีโอเอง / ตัดต่อเอง" ซึ่งเขารู้ดีถึงความสามารถของอุปกรณ์ของเขาที่บันทึกภาพหรือวีดีโอมา ... ปัจจุบันกล้องวีดีโอส่วนใหญ่จะบันทึกมาแบบ Full-HD ขนาด 1920x1080 29.970 fps เป็นอย่างต่ำ (รายละเอียดในส่วนนี้ค่อยมาพูดกันอีกที)

สังเกตว่าเราเข้าถึงเมนูการตั้งค่า Project Property ได้ถึง 3 จุด
หรือจะเข้าทาง Short Cut : Alt+Enter (จุดที่ 4)

หน้าต่างการกำหนดค่าฯ

การตั้งค่า Project property 
> Tab : Video <
Template : Custom (1920x1080, 29.970 fps)
Pixel format : 32-bit floating point (video levels)
Full-resolution rendering quality : Best
Motion blur type : Gaussian
Deinterlace method : Blend fields
check [/] : Adjust source media to better match project or render setting (ตัดขอบดำ ซ้าย-ขวา)
> Tab : Audio <
: Sample rate (hz) :: 48,000
: Bit depth :: 16
: Resample and... :: Best
check [/] : Start all new project with this setting
     ค่าต่างๆ ที่เห็นในกรอบสีเหลือง เป็นการอ่านค่าจากวีดีโอที่บันทึกมาด้วยการกดปุ่มทูลบาร์ Match Media Video Setting ... สำหรับค่าอื่นๆ ให้ตั้งตามในรูปไปก่อน จนกว่าท่านจะพบวิธีการที่ดีกว่านี้นะครับ
     ที่ตัวเลือกล่างสุด "check [/] : Start all new project with this setting" เป็นการกำหนดให้ใช้ค่านี้ในการเปิดใช้งานครั้งต่อๆ ไป

 *** ตอนนี้สมมุติว่าเราได้สร้างงานขึ้นมาแล้ว พร้อมจะนำไปใช้งาน"อัพขึ้น Youtube" ***

######

การตั้งค่า Render
     Render เป็นการส่งออกผลลัพท์ในงานของเราไปใช้งาน ซึ่งเราต้องรู้จุดประสงค์ก่อนว่าจะเอาไฟล์ที่ตัดต่อเสร็จแล้วไปทำอะไร เพราะการนำไฟล์ไปใช้งานแต่ละประเภทจะไม่เหมือนกัน (สังเกตที่นามสกุล เช่น .avi, .wmv, mp4 ...)
   
หลักการ render 
  • ต้อง Render ให้ตรงกับ Format วีดีโอไฟล์ที่ตัดต่อ เช่น 720*576(SD), 1280*720(HD), 1920*1080(Full HD)
  • ต้อง Render ให้นามสกุลตรงกับการนำไปใช้ เช่น avi, mp4
  • Format Video ในโปรเจคเรา = 1920x1080, 29.970 fps / None (progressive scan)
  ... ที่สำคัญให้ตรงค่า Frame Rate (fps) และ Filels Order : Progressive / Upper(pal) / Lower(ntsc) เช่น ถ่ายมา 1920x1090-29.970p แล้วต้องการตัดต่อไปทำ Dvd ระบบ Pal ก็ตั้งค่าเป็น 720x576-25p
ขั้นตอนการ Render
     การเข้าถึงคำสั่ง Render ได้ 2 วิธี
  • จากเมนู File > Render as ...
  • จากทูลบาร์ Render as ...

การเรียกคำสั่ง Render

การกำหนดค่า

  1. เลือกโฟลเดอร์และตั้งชื่อไฟล์ในการจัดเก็บ
  2. เลือก Template (Sony AVC/MVC หรือ MainConcept AVC/AAC)
  3. เลือก Customize Template เพื่อกำหนดค่าในรายละเอียด


การตั้งค่าต่างๆ 
>> Customize template (Sony AVC/MVC) <<
> Tab : Video <
Video Format : AVC
Frame size : (1920x1080) --> ตามที่ถ่ายมา
Profile : High
Entropy coding : CABAC
Frame Rate : 29.970 (fps) --> ตามที่ถ่ายมา
Filels Order : progressive --> ตามที่ถ่ายมา
Bit Rate : 15 หรือ 16 Mbps
Encode Mode  :: Render using CPU only
check [/] Enable progressive download
> Tab : Audio <
: Sample rate (hz) :: 44,000
: Bit rate (bps)     :: 128,000
> Tab : Sysstem <
: Format :: MP4               --> นำไปโพสต์ขึ้น Youtube
> Tab : Project <
: Video rendering quality :: Best
ตั้งชื่อเทมเพลท : เช่น Internet HD xxxp - MyRender1920x1080 กด save ไว้ใช้คราวต่อไป
... ขอออกตัวก่อนนะครับว่าผมไม่ได้เก่งคิดค่าพวกนี้เอง เป็นการรวบรวมจากหลายๆ ท่านที่แชร์ประสบการณ์แบ่งปันกันมา ...

เปรียบเทียบเทมเพลท Sony AVC / MainConcept AVC
     ก็มาถึงท้ายสุดแล้วนะครับ ขอให้ผู้อ่านได้ทดลองเปรียบเทียบการตั้งค่าแบบต่างๆ ว่าแบบไหนจะเหมาะสมในการนำไปใช้ ... ที่เขียนมาเป็นเพียงตัวเลือกเบื้องต้นสำหรับหลายๆ ท่านที่ยังไม่รู้ว่าจะตั้งค่าต่างๆ กันอย่างไร

     ขอให้สนุกกับการใช้โปรแกรม Sony Vegas Pro 13.0 นะครับ ... และจะคอยติดตามผลงาน / สวัสดี

2 ความคิดเห็น :

Sony Vegas Pro : การติดตั้ง

14 ความคิดเห็น
     
     ถ้าพูดถึง Youtube ทุกคนคงรู้จักกันดี หากถามต่อว่าคลิปต่างๆ ที่ลงใน Youtube นั้นมาจากไหน? คำตอบคงจะมีเยอะแยะมากมาย ... หนึ่งในคำตอบนั้นต้องมี Sony Vegas Pro อยู่ด้วยแน่นอน ปัจจุบันได้พัฒนามาถึงเวอร์ชั่น 13 แล้ว ก่อนที่จะไปต่อบทความนี้ขอเริ่มที่การติดตั้งกันก่อนนะครับ

14 ความคิดเห็น :